วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท


               มาตรา  ๔๒๓  บัญญัติว่า ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันผ่าผืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลของบุคคลอื่นก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้
                ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงทีส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
                บทบัญญัติมาตรานี้บัญญัติถึงการกระทำละเมิดอย่างหนึ่งเป็นเอกเทศนอกเหนือจากมาตรา ๔๒๐ เรียกกันว่าหมิ่นประมาทในทางแพ่ง อันรับรองว่าชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ทางเจริญของบุคคลเป็นสิทธิซึ่งอาจถูกกระทำละเมิดได้แม้จะมิใช่สิทธิตารมมาตรา ๔๒๐ ก็ตาม แต่การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทด้วยข้อความจริง ซึ่งไม่เป็นละเมิดตามมาตรา ๔๒๓ นี้ (ฏีกาที่ ๑๒๔/๒๔๘๗) ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๔ บัญญัติไว้ว่าสิทธิของบุคคลในเกียรติยศ ชื่อเสียง ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ดังนั้น การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่นต่อสาธารณชนอันกระทบถึงเกียรติยศหรือชื่อเสียงของเขาไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือฝ่าฝืนต่อความจริงย่อมเป็นละเมิด เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

_______________

. ศักดิ์ สนองชาติ,อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑,หน้า  ๗๒-๗๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น