วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์


            ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ เนื่องจากทรัพย์มีเจ้าของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงบัญญัติให้เจ้าของ ผู้ปกครอง ผู้ควบคุม หรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ ในฐานะที่ขาดความระมัดระวังในการใช้สอย บำรุงรักษาหรือควบคุมดูแลโดยถือว่ากระทำละเมิด อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
๑.     ความเสียหายอันเกิดจากสัตว์
๒.    ความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้
๓.    ความเสียหายอันเกิดจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือน
๔.    ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลและทรัพย์อันตราย

บทที่ ๑ ความเสียหายอันเกิดจากสัตว์
                มาตรา ๔๓๓ บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่สัตว์นั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
                อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เข้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆก็ได้
          สัตว์ตามมาตรานี้หมายความถึงสัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสัตว์เลี้ยงสัตว์ใหญ่สัตว์เล็กสัตว์ดุร้ายและสัตว์เชื่อง แต่จะต้องเป็นสัตว์มีเจ้าของซึ่งเจ้าของอาจเลี้ยงเองหรือมีผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ถ้าเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ แม้จะก่อความเสียหายต่อบุคคลใด ก็ไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ เพราะไม่มีผู้ที่จะรับผิด เช่น หนูในบ้าน ก. เข้าไปกัดแทะทรัพย์สินในบ้านของ ข. ก. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข.

๑. ความเสียหายอันจะต้องรับผิดมีดังนี้
๑.๑ ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์โดยตรง
๑.๒ ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์มีส่วน
๒. ผู้รับผิด
๒.๑ เจ้าของ
๒.๒ ผู้รับเลี้ยงรับรักษา
๒.๓ ความรับผิดระหว่างเจ้าของกับผู้รับเลี้ยงรับรักษา
๓. ข้อยกเว้นความรับผิด
๓.๑ ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษา
๓.๒ ความเสียหายย่อมจะเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้นแล้ว
๔. ผู้รับผิดมีสิทธิไล่เบี้ย

บทที่ ๒ ความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้
                มาตรา ๔๓๔ บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อ ปัดป้องมิให้เกิดเสียหาย ฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
                บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย
                ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้

๑. ความเสียหายอันจะต้องรับผิด
                ๑.๑ ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง
                ๑.๒ บำรุงรักษาไม่เพียงพอ
๒. ผู้รับผิด
                ๒.๑ ผู้ครอง
                ๒.๒ เจ้าของ
๓. ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ครอง
                ๓.๑ ความเสียหายเกิดจากการก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง
                ๓.๒ ความเสียหายเกิดจากการบำรุงรักษาไม่เพียงพอ
๔. ความเสียหายอันเกิดจากต้นไม้
๕. ผู้ครองหรือเจ้าของมีสิทธิไล่เบี้ย
๖. สิทธิเรียกให้บำบัดปัดป้องภยันตรายล่วงหน้า

บทที่ ๓ ความเสียหายอันเกิดจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือน
                มาตรา ๔๓๖ บัญญัติว่า บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร
                ตามบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้ผู้อยู่ในโรงเรือนรับผิดเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือนซึ่งตนครอบครองอยู่ เพราะการที่ของตกหล่นหรือทิ้งขว้างไปโดยปราศจากความระมัดระวังย่อมแสดงว่าผู้อยู่ในโรงเรือนนั้นประมาทเลินเล่อ
๑. ความเสียหายอันจะต้องรับผิด
                ๑.๑ ของตกหล่นจากโรงเรือน
                ๑.๒ ของทิ้งขว้างจากโรงเรือน
๒. ผู้รับผิด
๓. ผู้รับผิดมีสิทธิไล่เบี้ย

บทที่ ๔ ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลและทรัพย์อันตราย
                มาตรา ๔๓๗ วรรคแรก บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
          ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย
                จากมาตรานี้พอจะอธิบายโดยแยกหลักเกณฑ์ได้ดังนี้ คือ
๑.     บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแล
๒.    ยานพาหนะอย่างใดๆอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล
๓.    จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะนั้น
๔.    ข้อยกเว้นความรับผิด ถ้าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของผู้ต้องเสียหายเอง
๕.    หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้กับบุคคลซึ่งมีทรัพย์อันตรายไว้ในครอบครองด้วย

_______________

. ศักดิ์ สนองชาติ,อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑,หน้๑๕๕-๑๖๗
. วารี นาสกุล,อ้างแล้วเชิงอรรถที่ , หน้า ๑๕๖

2 ความคิดเห็น: